IPv6 คืออะไรและสำคัญอย่างไร

การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดัง
กล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเสี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย IPv6 ได้
กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่นๆ) anycast (host
เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6

Internet Protocol Version 6

ประเภทของ IPv6 Address

IPv6 address แบ่งออกเป็นสามประเภท

1. Unicast – เป็นการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือเป็นการส่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเดียวไปยังจุดหมายปลายทางเดียว
2. Multicast – เป็นการสื่อสารจากหนึ่งไปยังหลายปลายทาง ซึ่งเป็นการส่งต่อข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายเครื่อง
3. Anycast – เหมือนกับ multicast แต่แหล่งข้อมูลจะเลือกจุดหมายปลายทางที่ใกล้ที่สุดในการทำการส่งข้อมูล

ประโยชน์ของ IPv6
- ทำให้มี addresses มากขึ้น                          - เพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อในเครือข่าย p2p
- ความเร็วสูงกว่า                                            - มีการกำหนดค่าอัตโนมัติ
- มีประสิทธิภาพในการ routing                    - มีการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
- มีอัตราการแปลงสูงขึ้น

ข้อเสีย IPv4
- ยังได้รับความนิยมมากกว่า
- IPv6 และ IPv4 ไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรงและต้องมีเซิร์ฟเวอร์ 
- ผู้ให้บริการ VPN ยังไม่ค่อยมีการอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับ IPv6 เนื่องจาก IPv6

มีประโยชน์มากมาย วิศวกรเครือข่าย ศูนย์ข้อมูล บริษัทเทคโนโลยี และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือมากมายจึงใช้ประโยชน์จาก IPv6 โดย IPv6 เป็นตัวเลือกที่ผู้เชี่ยวชาญเลืกใช้และก็ควรเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานทั่วไปเลือกใช้เช่นกัน

ทำไมหมายเลข IPv6 address จึงมีความยาวแตกต่างกัน

หมายเลข IPV6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย ":" โดย แต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว (16 บิต) เช่น 3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234 0000:0000:0000:0000:000000000000:0001 fec00000000000000200:3cff:fec6:172e

ในปัจจุบันได้มีการก่อตั้งคณะทำงานระดับประเทศขึ้นภายใต้ชื่อ Thailand IPv6 Forum หรือ โครงการความร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครือข่าย IPv6 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัย ผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย Hardware และ Software ระบบเครือข่าย ซึ่งกิจกรรมใน ปัจจุบันของ Thailand IPv6 Forum ได้แก่ การเข้ าร่วมเป็นสมาชิกของ Asia-Pacific IPv6 Task Force และ การเชื่อมต่อแบบ Native IPv6 ภายในประเทศระหว่าง 3 องค์กรหลัก คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเหล่านี้ นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวในการตอบรับการนำ IPv6 มาใช้ในประเทศไทย

Cr: Wab ubu & เกร์ย-วิลเลียม