อุปกรณ์ที่ใช้ในงาน Solar Rooftop
สำหรับอุปกรณ์ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆได้แก่
1. อุปกรณ์ที่อยู่บนหลังคา
2. สายและอุปกรณ์ในการต่อสาย
3. อุปกรณ์ในส่วนของCombiner Box และ Inverter
1. อุปกรณ์ที่อยู่บนหลังคา
ในส่วนของอุปกรณ์ที่อยู่บนหลังคา อุปกรณ์ที่ยึดกับโครงหลังคานั้นจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของหลังคา การเลือกใช้ควรเลือกที่เป็นยี้ห้อเดียวกันทั้งหมดขนาดของแต่ละยี้ห้อมีขนาดที่แตกต่างกันตามแต่ละการออกแบบ
อุปกรณ์ยึดกับโครงหลังคา : โดยในส่วนของอุปกรณ์ยึดกับโครงหลังคานั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของหลังคา
เมทัลชีท : L-Feed
เมทัลชีท Clip-Log + L-Feed
กระเบื้องลอนคู่L-Feed
CPAC : Tile Hook
รางสำหรับวางแผง PV (Rail) นั้น ส่วนใหญ่
จะมีขนาดความยาวอยู่ที่ 4.2 เมตร กรณีต้องการวางแผงเป็นแนวยาวกว่าความยาวของรางจะใช้ข้อต่อรางเป็นตัวเชื่อมระหว่างราง 2 เส้น
Mid Clamp
ทำหน้าที่ยึดระหว่าง กลางของแผง 2 แผง ไว้ด้วยกันเพื่อ ไม่ให้แผงไหลหรือขยับ
End Clamp
ทำหน้าที่ยึดขอบของแผงที่อยู่ริมสุดเพื่อไม่ให้แผงไหลหรือขยับ
Ground Plate
Ground Plate นั้นจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างแผงกับรางเพื่อให้กระแสไฟไหลผ่านรางไปที่ Ground Lug โดยที่ Ground Lug จะทำหน้าที่ยึดสาย Ground ที่เชื่อมกับรางแต่ละเส้น เพื่อให้กระแสไฟไหลผ่าน ไปที่ สาย Ground ลงสู่แท่งกราวด์ หรือ หลักดินที่ปักไว้ในพื้นดิน โดยแท่งกราวควรปักลึกไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และค่าโอห์มต้องไม่เกิน 5 โอห์ม เพื่อป้องกันอันตราย จากไฟรั่ว และไม่เพียงแค่การป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูดเท่านั้น แต่ในบางกรณี สายดินยังมีส่วนช่วยในการจัดการกับสัญญาณรบกวนอีกด้วย
แผง PV
แผง PV นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ Mono Crystalline, Poly Crystalline และ Thin Film ใน 3 ชนิดนี้ แผงที่มีประสิทธิ ภาพผลิตไฟต่อพื้นที่สูงสุดจะเป็น ชนิด Mono Crystalline รองลงมาจะเป็น ชนิด Poly Crystalline และสุดท้ายจะเป็นชนิด Thin Film ถึงแม้ว่าแผงชนิด Mono Crystalline จะมีประสิทธิภาพผลิตไฟต่อพื้นที่สูงสุด แต่ในด้านราคาก็สูงกว่าแผงชนิดอื่นอยู่พอสมควร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร เช่น ปริมาณแสงอาทิตย์ต่อวันน้อย สภาพอากาศ ปริมาณค่าฝุ่น (ฝุ่นทำให้แสงส่องผ่านลงมาได้น้อย) การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง
สาย
การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องใช้สายไฟโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ ที่ต้องมีความสามารถในการทนอุณหภูมิได้ไม่ต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส ซึ่งสายไฟโซล่าเซลล์จะเรียกว่า PV / PV1-F ภายในสายไฟโซล่าเซลล์ PV1-F ประกอบด้วยสายเส้นเล็กๆ จำนวนมาก เพราะไฟฟ้าระบบกระแสตรง จะวิ่งที่ผิวของสายไฟเส้นเล็กๆ มีค่าความสูญเสียทางไฟฟ้าน้อยกว่าที่ใช้สายไฟโซล่าเซลล์เส้นใหญ่ๆเพียงเส้นเดียว และสายยังเคลือบด้วยดีบุกเพื่อป้องกันการกัดกร่อน หรือตะใคร่เมื่อเกิดความชื้น
อุปกรณ์ในการต่อสาย
ก่อนที่จะพูดถึงการต่อสาย เราต้องทราบกันก่อนว่า การเชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์นั้น จะนิยมเชื่อมต่อกัน 2 รูปแบบ คือแบบ อนุกรม (Series) และแบบ ขนาน (Parallel) หากต่อแบบขนาน จะต้องใช้หัวประเภท Y-branch หรือ T-type เพิ่มเข้ามา เพื่อรวมขั้วไฟ ก่อนนำไปต่อเข้ากับอุปกรณ์นั่นเอง ส่วนการต่ออนุกรมจะใช้หัว MC4 ที่เป็นลักษณะการนำหัวไปเข้ากับสายได้เลยตรงๆ
Combiner Box
หลังจากติดตั้งแผงเดินสายลงมาแล้ว ก่อนที่สายจะเข้าไปที่ Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สายที่มาจากแผง จะต้องมาที่ Combiner Box ก่อน เนื่องจากเป็นตู้สำหรับรวบรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าที่รวบรวมได้ไปทำการแปลงกระแสไฟฟ้าที่ Inverter ซึ่งตู้คอมบายเนอร์นี้จะมีอุปกรณ์ในการป้องกันต่าง เช่น ฟิวส์ (Fuse) เบรกเกอร์ดีซี,เอซี(DC,AC breaker) เสิร์ช โพรเทคชั่น (SPD) ไว้สำหรับป้องกันเมื่อกระแสหรือแรงดันไฟฟ้าสูงชั่วขณะ
Inverter : Central Solar Inverter
Inverter : ทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้า จาก ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) โดย Inverter จะมีอยู่ 6 ประเภทด้วยกัน อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้า DC ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ ให้กลายเป็นไฟฟ้า AC เพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ โดยในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด คือ
1. Central Solar Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับโซล่าเซลล์ระบบออนกริด โดยมีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ 100 - 2,500 กิโลวัตต์ นิยมนำไปใช้ใช้ ในโซล่าฟาร์ม หรือ PV Plant ขนาดใหญ่ที่มีการติดตั้งกำลังการผลิตที่หลาย ๆ เมกกะวัตต์ แต่มีข้อเสีย คือ หากตัวอินเวอร์เตอร์เสียเพียง 1 ตัว ก็จะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบลดลงเป็นอย่างมาก
2. String Solar Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับโซล่าเซลล์ระบบออนกริด โดยมีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2 - 60 กิโลวัตต์ เป็นอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้นิยมนำมาใช้กันภายในบ้าน สำนักงาน โรงงาน และอาคารอื่นๆ โดยทั่วไป
3. Solar Inverter แบบมี Power Optimizer Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ใช้สำหรับโซล่าเซลล์ระบบออนกริด ที่ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น โดยการเพิ่มอุปกรณ์ Power Optimizer ไปติดตั้งไว้ที่ใต้แผงโซล่าเซลล์ในแต่ละแผง เพื่อช่วยปรับแต่งค่าแรงดันไฟฟ้า DC ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ให้มีความเหมาะสมขึ้นก่อน จากนั้นจึงส่งต่อมาที่อินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้า AC แล้วนำไปใช้งานต่อไป
4. Solar Micro Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในระบบออนกริด โดยความพิเศษของอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้คือ มันถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กมาก สามารถนำไปติดตั้งที่แผงโซล่าเซลล์เพื่อใช้งานได้เลย โดยสามารถใช้งานได้ 1 ตัวต่อ 1 แผง , 1 ตัวต่อ 2 แผง หรือ 1 ตัวต่อ 4 แผง ขึ้นอยู่กับแต่ละตัวที่ทางแบรนด์ผลิตออกมา ซึ่งเอาท์พุทที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้จะเป็นไฟฟ้าแบบ AC ที่สามารถนำไปต่อใช้งานต่อได้เลย
5. Off Grid Solar Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ใช้กับโซล่าเซลล์ระบบออฟกริดที่สามารถใช้แปลงไฟฟ้า DC ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ ให้เป็นไฟฟ้า AC แล้วนำไปต่อใช้งานได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องต่อเชื่อมกับระบบจำหน่ายไฟของทางการไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ระบบนี้จำเป็นต้องใช้งานร่วมกันกับแบตเตอรี่ และชาร์จเจอร์ เพื่อทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ในภายหลังได้
6. Hybrid Solar Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ที่นำฟีเจอร์ของทั้งระบบออนกริด และออฟกริดมาใช้งานรวมกันได้ ถือได้ว่าเป็นอินเวอร์เตอร์ที่มีความยืดหยุ่นและใช้งานได้สะดวกมากตัวหนึ่งเลย
Solar Cell System
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลักๆ เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานและพื้นที่ที่จะติดตั้ง โดยจะแบ่งได้ดังนี้
ระบบออนกริด On Grid
เป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า (ไฟบ้าน) การผลิตไฟฟ้าระบบนี้จะใช้แผงโซลาร์เซลล์สำหรับการกำเนิดไฟฟ้า หลังจากนั้นจะจ่ายไฟให้กับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟกระแสสลับ (AC) และจะต่อเข้ากับระบบไฟบ้าน เพื่อใช้งานร่วมกันต่อไป ระบบออนกริดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งระบบนี้เหมาะกับการใช้งานในตอนกลางวันเท่านั้น เช่น บ้านที่มีการใช้งานในตอนกลางวัน อาคารสำนักงานที่ทำงานตอนกลางวัน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ ออฟฟิต เป็นต้น
ข้อดีของระบบออนกริด On Grid คือ
1.จะมีแหล่งจ่ายไฟจากทั้ง 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และ อีกทางหนึ่งจากแผงโซล่าเซลล์
2.สามารถลดค่าไฟฟ้า หรือเรียกได้ว่าฟรีค่าใช้จ่ายเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้เองในตอนกลางวันใช้ไฟฟ้าฟรี
3.สามารถขอขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้าได้หากกำลังการผลิตสูงกว่าการใช้งาน
4.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่สูงมาก
ข้อเสีย ของระบบออนกริด On Grid คือ
จะประหยัดค่าไฟในช่วงกลางวันเท่านั้น หากไม่มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันจะไม่ช่วยลดค่าไฟเลย (กรณีไม่ขายไฟคืนการไฟฟ้า)
ระบบออฟกริด Off-Grid
เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยจะมีผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วใช้ได้เลยทันทีในตอนกลางวัน และที่เหลือจะมีการสำรองไว้ในแบตเตอรี่ไว้ใช้ในตอนกลางคืน (หรือเรียกว่าเป็นระบบ Stand Alone ) ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า การติดตั้งด้วยระบบนี้เหมาะกับสถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง หรือ พื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ข้อดีของระบบออฟกริด (Off-Grid) คือ
1. มีไฟฟ้าใช้แม้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
2. ประหยัดกว่าหากเทียบกับการที่ต้องขยายเขตการไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ
3. ในกรณีอยู่พื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าอาจจะตกหรือดับอยู่บ่อยครั้ง การใช้ระบบ off grid จะช่วยเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่ไฟฟ้าตก ไฟดับ ที่เกิดขึ้น
ข้อเสียของระบบออฟกริด (Off-Grid) คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Off-Grid สูงกว่ารับบอื่นเนื่องจากอุปกรณ์ในการติดตั้งเยอะกว่า
2. อายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่ ที่ไม่ได้ยาวนานมากหากดูแลบำรุงรักษาไม่ดี
3. หากไม่มีแดดหรือฝนตกติดต่อกันหลายวัน พลังงานที่สะสมไว้อาจจะหมด
ระบบไฮบริด Hybrid
หมายถึงการนำเอาแหล่งผลิตพลังงานอย่างอื่นมาเป็นแหล่จ่ายพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่น พลังงานลม พลังงานชีวมวล และพลังงานจากการนำเครื่องยนต์มาปั่นไฟ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้จากแผงโซล่าเซลล์
ข้อดีของ ระบบไฮบริด ( Hybrid ) คือ ช่วยลดการสูญเสียเนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จะป้อนเข้ามาที่โหลดใช้งานได้เลย ก่อนที่จะเข้าไปชาร์จในแบตเตอรี่ เมื่อโหลดที่ใช้งานมีน้อยลง จนกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเหลือก็จะค่อยชาร์จเข้าเก็บในแบตเตอรี่ ซึ่งวิธีนี้ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้อีกด้วย
ข้อเสียของระบบไฮบริด ( Hybrid ) คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ ไฮบริด ( Hybrid ) มีราคาที่ค่อนข้างสูง
2. อินเวอร์เตอร์ที่รองรับจากการไฟฟ้าณปัจจุบันยังมีน้อยมาก
การต่อแผงโซล่าเซลล์
การต่อแผงโซล่าเซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
1.การต่อแบบอนุกรม Series Circuit
2.การต่อแบบขนาน Parallel Circuit
3.การต่อแบบผสม Compound Circuit
1. การต่อแบบอนุกรม Series Circuit
การต่อแบบอนุกรม – คือนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งมาต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่งไปเรื่อย ๆ จนได้แรงดันตามระบบที่ออกแบบไว้ การต่อแบบอนุกรมนี้จะทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่กระแสในระบบจะเท่าเดิม ตัวอย่าง ถ้ามีแผงโซล่าเซลล์แรงดัน 40 โวลต์ กระแส 10 แอปม์ 2แผง มาต่ออนุกรมกันจะได้แรงดันรวมจะอยู่ที่ 80 โวลต์ และ กระแสรวม 10 แอมป์
2. การต่อแบบขนาน Parallel Circuit
การต่อแบบขนาน – คือนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งไปต่อกับขั้วบวกของโซล่าเซลล์อีกแผงหนึ่ง และนำขั้วลบแผงหนึ่งไปต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่ง การต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่แรงดันเท่าเดิม ตัวอย่างถ้ามีแผงโซล่าเซลล์ตามรูปด้านล่าง 2 แผงนำมาต่อแบบขนานจะได้แรงดันรวมของระบบ 40 โวลต์และกระแสไฟฟ้ารวม 20 แอมป์
3. การต่อแบบผสม Compound Circuit
การต่อแบบผสม คือ การต่อแบบอนุกรมและขนานมารวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งการต่อแบบนี้จะเป็นการเพิ่มทั้งแรงดันไฟและกระแสไฟ แล้วยังส่งผลให้กำลังไฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่าง ถ้ามีแผงโซล่าเซลล์แรงดัน 40 โวลต์ กระแส 10 แอปม์ 4 แผง มาต่ออนุกรมกัน 2 แผง แล้วนำมาต่อขนานกัน จะได้แรงดันรวมจะอยู่ที่ 80 โวลต์ และ กระแสรวม 20 แอมป์
ตัวอย่าง การออกแบบ ระบบ On-Grid
**หากสงสัยหรือต้องการสอถามข้อมูลสินค้า แนวทางการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ 020248080